ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
ประวัติความเป็นมา
สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ได้รับการพัฒนามาจาก “พิพิธภัณฑ์สัตว์และสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม” ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2512 โดยคณะอาจารย์ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน (วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสนเดิม) และนิสิตอีกจำนวนหนึ่งโดย ดร.บุญถิ่น อัตถากร อดีตอธิบดีกรมการฝึกหัดครูและอดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้สนับสนุนการดำเนินโครงการดังกล่าว
พิพิธภัณฑ์สัตว์และสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม เปิดให้ประชาชนเข้าชมอย่างไม่เป็นทางการตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2513และในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2519 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน ได้กราบทูลเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี ทรงประกอบพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์สัตว์และสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม
พิพิธภัณฑ์สัตว์และสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นลำดับจนไม่สามารถขยายออกไปได้อีก ทั้งนี้เนื่องจากตัวอาคารมีขนาดจำกัดและไม่ได้ออกแบบไว้สำหรับการนี้โดยตรง เพื่อเป็นการขยายกิจการของพิพิธภัณฑ์สัตว์และสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มให้กว้างขวางยิ่งขึ้นกว่าเดิมทางมหาวิทยาลัยโดยการนำของ ดร.ทวี หอมชงและคณะ ได้จัดทำโครงการขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่น เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2523 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าในการจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเลเป็นมูลค่า 230 ล้านบาท โดยเริ่มก่อสร้างในวันที่ 1 ธันวาคม 2524 ณ บริเวณด้านหน้าของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน ในเนื้อที่ประมาณ 30 ไร่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาเสด็จทรงวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2525 การก่อสร้างแล้วเสร็จ และมีพิธีมอบให้แก่มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2526
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงกระทำพิธีเปิดศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเล เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม2527 จากนั้นศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเลได้จัดทำโครงการเพื่อยกฐานะเป็นสถาบัน และได้รับอนุมัติให้เป็นสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2528
ปรัชญา
พัฒนางานวิจัย ใส่ใจให้บริการ ประสานความร่วมมือ ยึดถือแนวทางอนุรักษ์ พิทักษ์ทะเลไทยวิสัยทัศน์
เป็นศูนย์กลางแห่งความเป็นเลิศทางการวิจัย และบริการวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล
พันธกิจ
1. ดำเนินงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในเชิงพาณิชย์
2. เป็นแหล่งเรียนรู้และให้บริการวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลแก่ ชุมชนและสังคม ตลอดจนการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางทะเล รวมทั้งสนับสนุนการเรียนการสอนและการวิจัย
3. เป็นหน่วยงานที่มีการพัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์ของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
1. เพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล
2. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งท่องเที่ยวเชิงวิชาการ และการอนุรักษ์ทรัพยากรตลอดจน สนับสนุนการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล ทั้งภายในและต่างประเทศ
3. เพื่อเป็นองค์กรที่มีระบบบริหารจัดการที่ดีและมีประสิทธิภาพ
พัฒนางานวิจัย ใส่ใจให้บริการ ประสานความร่วมมือ ยึดถือแนวทางอนุรักษ์ พิทักษ์ทะเลไทยวิสัยทัศน์
เป็นศูนย์กลางแห่งความเป็นเลิศทางการวิจัย และบริการวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล
พันธกิจ
1. ดำเนินงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในเชิงพาณิชย์
2. เป็นแหล่งเรียนรู้และให้บริการวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลแก่ ชุมชนและสังคม ตลอดจนการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางทะเล รวมทั้งสนับสนุนการเรียนการสอนและการวิจัย
3. เป็นหน่วยงานที่มีการพัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์ของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
1. เพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล
2. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งท่องเที่ยวเชิงวิชาการ และการอนุรักษ์ทรัพยากรตลอดจน สนับสนุนการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล ทั้งภายในและต่างประเทศ
3. เพื่อเป็นองค์กรที่มีระบบบริหารจัดการที่ดีและมีประสิทธิภาพ
กลุ่มเป้หมาย : นักเรียน นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป
อ้างอิง http://www.bims.buu.ac.th/Pages/index3.aspx
อ้างอิง http://www.bims.buu.ac.th/Pages/index3.aspx
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น