วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การจัดผังโครงสร้างของศูนย์ (Organizing)

ให้นิสิตแต่ละคนหาตัวอย่างผังโครงสร้างของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ มาคนละ 2 ผังโครงสร้าง พร้อมเขียนอธิบายดังนี้
 1.1 แหล่งอ้างอิงของโครงสร้างศูนย์
 1.2 โครงสร้างดังกล่าวเป็นประเภทใด เพราะเหตุ


1.  - สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย           






โครงสร้างการบริหารงาน ของสำนักหอสมุดกลางมหวิทยาลัยหอการค้าไทยเป็นประเภท Line and Staff Organizing เพราะ รูปแบบโครงสร้างของศูนย์มีคณะกรรมการเข้ามาช่วยควบคุมการทำงานของศูนย์



2.สำนักงานหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา 



แหล่งข้อมูลอ้างอิง  http://www.lib.buu.ac.th/webnew2/?page_id=2288


โครงสร้างการบริหารงาน ของสำนักหอสมุดกลางมหวิทยาลัยหอการค้าไทยเป็นประเภท Line and Staff Organizing เพราะ รูปแบบโครงสร้างของศูนย์มีคณะกรรมการเข้ามาช่วยควบคุมการทำงานของศูนย์

กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การวางแผน (Planning)

ให้นิสิตแต่ละคน หาตัวอย่างของศูนย์สำหรับการศึกษาตาม อัธยาศัยมา คนละ 1 ศูนย์ โดยสืบค้นในระบบเครือข่าย และต้อง อธิบายดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. นโยบาย ของศูนย์ วิสัยทัศน์ และกลุ่มเป้าหมายของศูนย์
2. แหล่งที่มาของศูนย์
3. แผนการดำเนินงาน (ถ้ามี)


พิพิธพัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งมาดามทุสโซ Madame Tussauds Bangkok




สถานที่ตั้ง  :   พิพิธพัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งมาดามทุสโซ Madame Tussauds Bangkok กรุงเทพฯ 
                        สยามดิสคัฟเวอรี่ ชั้น 6
                        เลขที่ 989 ถนนพระราม 1  เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

Tel  :  +66 (0) 26580060, +66 (0) 26580056

            1. นโยบาย
จัดตั้งบริการบุคคลที่ปั้นมาจากหุ่นขี้ผึ้งจำลองที่เหมือนที่สุดในโลก ในพิพิธภัณฑ์ มีศึกษาค้นคว้าประวัติมีการเรียนรู้ต้นแบบ รวมถึงศึกษางานวิชาการและเผยแพร่องค์ความรู้ ประวัติศาสตร์ บุคคลสำคัญของโลก  บุคคลทางด้านศิลปะและวิทยาศาสตร์ ดารานักแสดงที่มีชื่อเสียง นักกีฬา นักร้องนักดนตรีจอแก้ว รวมถึงตัวการ์ตูนอนิเมชั่น ที่มีทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศไปทั่วโลก





2.วิสัยทัศน์

เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีความเป็นเลิศด้านภาษา ศิลปวัฒนธรรม ในระดับภูมิภาคลุ่มน้ าโขง 
 
ประเด็นยุทธศาสตร์ 
 ยุทธศาสตร์ที่ ๑ พัฒนาสถาบันให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านภาษา 
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ พัฒนาสถาบันให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม 
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ พัฒนาระบบวิเทศสัมพันธ์ให้มีประสิทธิภาพ 
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้ประสิทธิภาพ 

3.กลุ่มเป้าหมาย

นักเรียน นักศึกษา องค์กร หน่วยงาน โรงเรียน สถานศึกษา นักท่องเที่ยว ตัวแทนนักท่องเที่ยว บุคคลทั่วไปทั้งในประเทศปละนอกประเทศ

4.แหล่งที่มา



ประวัติศาสตร์ เริ่มขึ้น ปี พ.ศ. ๒๓๐๔ (ค.ศ. ๑๗๖๑) มาดาม มารี ทุสโซ (Makame 
Marie Tussaud) มีนามเดิมว่า แอนนา มารี โกรซอลต์ส เกิดที่เมือง สตราสบูร์ก ประเทศฝรั่งเศษ 
มารดาทำงานให้กับนายแพทย์ฟิลิปเป เคอร์เทียส (Philippe Curtius) ซึ่งเป็นทั้งแพทย์และนักปั้นหุ่น ขี้ผึ้งที่มีชื่อเสียงและเป็นผู้สอนเทคนิคการทำหุ้นขี้ผึ้งให้ ในปี พ.ศ. ๒๓๒๓ มารีได้รับเชิญเข้าไปเป็นครูสอนศิลปะให้กับพระโอรสและพระธิดาของกษัตริย์ในพระราชวังแวร์ซายส์ ในปีพ.ศ. ๒๓๗๘ มาดามทุสโซ มีสถานที่แสดงนิทรรศการเป็นหลักแหล่งในกรุงลอนดอน เธอและบุตรชายได้สร้าง “ห้องแห่งความสยองขวัญ” (Chamber of Horrors) ขึ้นที่นี่จากประสบการณ์ที่พบเจอ และยังสะสมวัตถุโบราณและทำหุ่นขี้ผึ้งเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. ๒๓๘๕ ได้สร้างผลงานชิ้นสุดท้าย คือภาพเหมือนตนเอง ในวัย ๘๑ ปี จนถึง พ.ศ. ๒๓๙๓ มาดามทุสโซถึงแก่มรณกรรมด้วยวัย ๘๙ ปี ตระกูลทุสโซ ยังคงสืบทอดของมาดามทุสโซ โดยนำหุ่นขี้ผึ้งไปแสดงทั่วโลก และเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ อัมสเตอร์ดัม ลาสเวกัส  ฮ่องกง นิวยอร์ค เซี่ยงไฮ้ วอชิงตัน ดีซี เบอร์ลิน ฮอลลีวูด กรุงเทพ .... 

แหล่งอ้างอิง http://www.madametussauds.com/Bangkok/AboutUs/History/Default.aspx ค้นคว้าเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2556 







กิจกรรม Home Exam ท้ายหน่วยการเรียนรู้

1.ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ถ้าแบ่งตามกลุ่มเป้าหมายของระบบการศึกษาได้กี่ประเภท อะไรบ้าง จงอธิบาย....

ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ถ้าแบ่งตามกลุ่มเป้าหมายของระบบ การศึกษามี 3 ประเภท ดังนี้
                1. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาในระบบโรงเรียน
                หมายถึง หน่วยงานที่สนับสนุนการเรียนการสอนทั้งสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ซึ่งมีการดำเนินการได้หลายลักษณะและมีชื่อเรียกต่างกัน ได้แก่  ศูนย์สื่อการศึกษา หรือหน่วยบริการสื่อการศึกษา, ศูนย์โสตทัศนศึกษา หรือหน่วยโสตทัศนศึกษา, ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา หรือหน่วยเทคโนโลยีการศึกษา, ศูนย์วิทยาการหรือสถาบันวิทยบริการศูนย์ทรัพยากรการศึกษา หรือศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
                2. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษานอกระบบ
                เป็นศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ที่มีเป้าหมายโดยมุ่งการให้บริการกับผู้เรียนที่มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้เรียนได้รับความรู้ด้านพื้นฐาน ทักษะในการประกอบอาชีพ และทักษะที่จำเป็นสำหรับความรู้ด้านอื่นๆ เป็นฐานในการดำรงชีวิต เช่น ศูนย์ฝึกอาชีพศูนย์การเรียน เป็นต้น
                3. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัย
                เป็นศูนย์รวมและให้บริการความรู้โดยมุ่งให้กลุ่มเป้าหมายได้ศึกษาจากประสบการณ์การทำงาน บุคคล ครอบครัว สื่อมวลชน ชุมชน แหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ เป็นต้น


2.ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย...


           1.ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาในระบบโรงเรียน หมายถึง หน่วยงานที่สนับสนุนการเรียนการสอนทั้งสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ซึ่งมีการดาเนินการได้หลายลักษณะและมีชื่อเรียกต่างกัน ได้แก่ ศูนย์สื่อการศึกษา หรือหน่วยบริการสื่อการศึกษา,ศูนย์โสตทัศนศึกษา หรือหน่วยโสตทัศนศึกษา,ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา หรือหน่วยเทคโนโลยีการศึกษา,ศูนย์วิทยาการหรือสถาบันวิทยบริการศูนย์ทรัพยากรการศึกษา หรือศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

           2.ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษานอกระบบ เป็นศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ที่มีเป้าหมายโดยมุ่งการให้บริการกับผู้เรียนที่มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้เรียนได้รับความรู้ด้านพื้นฐาน ทักษะในการประกอบอาชีพ และทักษะที่จาเป็นสำหรับความรู้ด้านอื่นๆ เป็นฐานในการดำรงชีวิต เช่น ศูนย์ฝึกอาชีพศูนย์การเรียน เป็นต้น

          3.ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นศูนย์รวมและให้บริการความรู้โดยมุ่งให้กลุ่มเป้าหมายได้ศึกษาจากประสบการณ์การทางาน บุคคลครอบครัว สื่อมวลชน ชุมชน แหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต


3. ให้นิสิตหาตัวอย่างศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ประเภท ละ 3 ศูนย์ พร้อมบอกสถานที่ตั้ง และกลุ่มเป้าหมายของศูนย์นั้น ๆ พร้อมแหล่งอ้างอิง


1. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ในระบบ
                           - หอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา                
                                สถานที่ตั้ง     :   สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา 169, ถนนลงหาดบาง                                                                             แสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี  20131, 20130
                               กลุ่มเป้าหมาย   :   นิสิต บุคลากรมหาวิทยาลัยบูรพา และประชาชนทั่วไป
                               แหล่งอ้างอิง     :    http://www.lib.buu.ac.th/webnew2/

                           - สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย                              
                                สถานที่ตั้ง        :     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย  126/1 ถ.วิภาวดีรังสิต ดินแดง                                                                        กรุงเทพฯ 10400
                               กลุ่มเป้าหมาย   :    นิสิต บุคลากรมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประชาชนทั่วไป
                               แหล่งอ้างอิง     :     http://library.utcc.ac.th/library/
                 
                            - สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                                  สถานที่ตั้ง      :    สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท

                                                              ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

                               กลุ่มเป้าหมาย   :     นิสิต บุคลากรมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ และประชาชนทั่วไป

                               แหล่งอ้างอิง      :    http://www.car.chula.ac.th/



2. ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้นอกระบบ
                      
                            - ศูนย์การเรียนรู้ทางการวิจัย
                                สถานที่ตั้ง  : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) 196 ถนนพหลโยธิน เขต                                                      จตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
                                อ้างอิง : http://rlc.nrct.go.th/main.php?filename=index

                                      - ศูนย์การเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ และศูนย์สาธิตและส่งเสริมงาน                                              ศิลปาชีพ   ภาคเหนือ                                          
                                            สถานที่ตั้ง  :  ศูนย์การเรียนรู้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภาคเหนือ ถนนแม่ริม ต.แม่สา  อ.แม่ริม                                                                         จ.เชียงใหม่
                                            อ้างอิง  :   
http://www.northernstudy.org/

                            - ศูนย์การเรียนรู้ทรัพยากรน้ำและสิ่งแวดล้อม
                                 สถานที่ตั้ง : โรงบำบัดน้ำเสียส่วนกลางนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง  49/19  
                                                      ต.ทุ่งสุขลา  อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 
                                 อ้างอิง : http://www.gusco.co.th/gusco_new/rcy_lcb/Rcy_plant_LCB.asp



3.ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาตามอัธยาศัย

                                           - สวนสัตว์เปิดเขาเขียว                                                สถานที่ตั้ง : 235 หมู่ 7 ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
                                                กลุ่มเป้าหมาย 
บุคคลทั่วไป
                                                แหล่งอ้างอิง 
: 
http://www.kkopenzoo.com/
             
                                         - สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
                                               สถานที่ตั้ง 
: 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131
                                               กลุ่มเป้าหมาย : บุคคลทั่วไป
                                               แหล่งอ้างอิง 
http://www.bims.buu.ac.th/Pages/index01.aspx


                              - พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย
                                     สถานที่ตั้ง : ตั้งอยู่ริมทะเลบริเวณเขาหมาจอ ตำบลแสมสาร อำเภอ                                                           สัตหีบ จังหวัดชลบุรี
                                     กลุ่มเป้าหมาย : บุคคลทั่วไป
                                     แหล่งอ้างอิง : http://www.tis-museum.org/index_sub.html

           


วันจันทร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

                                                   สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา


ประวัติความเป็นมา
สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ได้รับการพัฒนามาจาก พิพิธภัณฑ์สัตว์และสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม” ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2512 โดยคณะอาจารย์ภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน (วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสนเดิม) และนิสิตอีกจำนวนหนึ่งโดย ดร.บุญถิ่น อัตถากร อดีตอธิบดีกรมการฝึกหัดครูและอดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้สนับสนุนการดำเนินโครงการดังกล่าว 
           พิพิธภัณฑ์สัตว์และสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม เปิดให้ประชาชนเข้าชมอย่างไม่เป็นทางการตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2513และในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2519 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน ได้กราบทูลเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี ทรงประกอบพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์สัตว์และสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม
       พิพิธภัณฑ์สัตว์และสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นลำดับจนไม่สามารถขยายออกไปได้อีก ทั้งนี้เนื่องจากตัวอาคารมีขนาดจำกัดและไม่ได้ออกแบบไว้สำหรับการนี้โดยตรง เพื่อเป็นการขยายกิจการของพิพิธภัณฑ์สัตว์และสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มให้กว้างขวางยิ่งขึ้นกว่าเดิมทางมหาวิทยาลัยโดยการนำของ ดร.ทวี หอมชงและคณะ ได้จัดทำโครงการขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่น เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2523 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าในการจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเลเป็นมูลค่า 230 ล้านบาท โดยเริ่มก่อสร้างในวันที่ ธันวาคม 2524 ณ บริเวณด้านหน้าของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน ในเนื้อที่ประมาณ 30 ไร่  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาเสด็จทรงวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2525 การก่อสร้างแล้วเสร็จ และมีพิธีมอบให้แก่มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ มีนาคม พ.ศ. 2526 
         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงกระทำพิธีเปิดศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเล เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม2527 จากนั้นศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเลได้จัดทำโครงการเพื่อยกฐานะเป็นสถาบัน และได้รับอนุมัติให้เป็นสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2528

ปรัชญา
      พัฒนางานวิจัย  ใส่ใจให้บริการ  ประสานความร่วมมือ ยึดถือแนวทางอนุรักษ์  พิทักษ์ทะเลไทยวิสัยทัศน์
       เป็นศูนย์กลางแห่งความเป็นเลิศทางการวิจัย และบริการวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล
พันธกิจ
                  1. ดำเนินงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในเชิงพาณิชย์
                  2. เป็นแหล่งเรียนรู้และให้บริการวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลแก่ ชุมชนและสังคม ตลอดจนการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางทะเล  รวมทั้งสนับสนุนการเรียนการสอนและการวิจัย
                  3. เป็นหน่วยงานที่มีการพัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์ของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
                  1. เพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล
                  2. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้   แหล่งท่องเที่ยวเชิงวิชาการ  และการอนุรักษ์ทรัพยากรตลอดจน   สนับสนุนการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล ทั้งภายในและต่างประเทศ
                  3. เพื่อเป็นองค์กรที่มีระบบบริหารจัดการที่ดีและมีประสิทธิภาพ
กลุ่มเป้หมาย นักเรียน นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป
อ้างอิง http://www.bims.buu.ac.th/Pages/index3.aspx