วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดท้ายบท เรื่อง แนวโน้มของรูปแบบการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน


1. โครงสร้างองค์กรหมายถึงอะไร
 ตอบ โครงสร้างองค์กร หมายถึง การจัดระบบในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้โดยการจัดสรรทรัพยากร การแบ่งหน้าที่ในแต่ละฝ่าย ซึ่งการจัดเป็นรูปต่างๆ กันเพื่อให้การบริหารงานบรรลุจุดมุ่งหมาย

2. องค์กรแบบมีชีวิต หมายถึงอะไร
ตอบ       องค์กรแบบมีชีวิตจะเป็นลักษณะขององค์กรแบบสิ่งมีชีวิต (Organic Organization)ได้แก่
2.1 โครงสร้างยืดหยุ่น (Flexible Structure) ไม่ติดยึดกับโครงสร้างที่ตายตัวแบบองค์การแบบเครื่องจักร มีการปรับโครงสร้างให้เข้ากับสภาพแวดล้อมการทำงาน                                                                    
2.2 มีการกระจายอำนาจ (Decentralization) ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
2.3 มีการทำงานเป็นทีม (Team Work) ร่วมมือกัน
2.4 เน้นผลงานมากกว่ากฎระเบียบ (Performance –Oriented) กฎระเบียบ จะกำหนดเท่าที่จำเป็น ถือว่าเป็นเพียงเครื่องมือในการทำงาน
2.5 การติดต่อสื่อแบบไม่เป็นทางการ (Informal Communication) สมาชิกติดต่อได้ทุกระดับโดยตรง ไม่ต้องผ่านโครงสร้างสายการบังคับบัญชา

3. กระบวนการจัดการแบบ 5s Model มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ       กระบวนการจัดการจะเป็นในลักษณะองค์กร 5 S’model
กระบวนการจัดการองค์กร 5s หมายถึง การจัดระเบียบของการทำงานในลักษณะขององค์กรสมัยใหม่ที่มีความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้น ซึ่งประกอบด้วย Small, Smart, Smile, Simplify, Smooth ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. Small คือ เป็นองค์การขนาดเล็ก แต่เป็นองค์กรที่มีคุณภาพ
2. Smart คือ ดูดี ดูเท่ห์ ดูน่าเชื่อถือ ใช้คำว่า ฉลาดเพียบพร้อมด้วยภูมิปัญญา การจะทำให้เท่ห์ต้องมีISO มีการประกันคุณภาพในระบบของ QA และกิจกรรมอื่นเช่น 5 . , TQA
3. Smile คือ ยิ้มแย้มแจ่มใส เปี่ยมด้วยน้ำใจ ฉะนั้นคนในองค์การจะต้องทำงานอย่างมีความสุข ความสุขมีอยู่ 2 ฝ่าย
                   - คนทำงานมีความสุข
                   - ลูกค้าผู้รับการบริการ โดยเริ่มที่พนักงานก่อนแล้วออกแบบองค์การให้เป็นองค์การที่มีความสุข สนุกในงานที่ทามีความสุขยิ้มแย้มแจ่มใส ทำงานด้วยใจรัก รักงานอยากจะมาทำงาน
4. Smooth คือ ไม่พูดเรื่องการขัดแย้ง จะพูดเรื่องการผนึกกำลังการทำงานเป็นทีมเพื่อให้ประสบความสำเร็จ
5. Simplify คือ ทำเรื่องสลับซับซ้อนให้เป็นเรื่องง่ายหรือทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย ทำเรื่องที่ไม่สะดวกให้สะอาด ทำเรื่องที่ช้าให้เร็วขึ้น

4. ลักษณะขององค์การแบบเครือข่าย (Network organization) หมายถึงอะไร
ตอบ    องค์การเครือข่ายเป็นผลรวมขององค์การอิสระหลายๆองค์การมาผูกเชื่อมโยงกัน ที่มารวมตัวกันเพื่อทำงานให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันหรือความต้องการเดียวกัน
ลักษณะขององค์การแบบเครือข่าย (Network organization)
4.1 ความยืดหยุ่น Flexible แต่ละองค์การที่มีความหลากหลายที่มารวมตัวกันบางครั้งมาจากหน่วยงานภายในองค์การเดียวกันที่มาเชื่อมโยงกัน /มาจากต่างองค์การ
4.2 Assemble by brokers อาจมีตัวแทนหรือการ outsource
4.3 Team –base ทำงานเป็นทีม
4.4 Flat org. โครงสร้างเป็น แบบแนวราบเน้นการเจรจาประสานงานกันมากกว่าโครงสร้างสายการบังคับบัญชา
4.5 ใช้ IT มาเชื่อมโยง เพื่อการประสานงานหรือรวมกลุ่มหรือประสานงานเป็นไปโดยอัตโนมัติ
4.6 ขอบเขตไม่ชัดเจน

5. แนวโน้มของการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ในอนาคตมีอะไรบ้าง
 ตอบ     1. มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการจัดการและให้บริการมากขึ้น
             2. มีการจัดการแบบองค์กรสมัยใหม่
             3. ให้บริการในรูปแบบ ศูนย์ศึกษาบันเทิง กล่าวคือเป็น แหล่งการเรียนรู้ที่รวบรวมสื่อ วัสดุ อุปกรณ์และวิธีการที่หลากหลายแบบมาบูรณาการ โดยเป็นลักษณะแบบทั่วไปที่เน้นกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กและเยาวชน ซึ่งประกอบด้วย การเรียนรู้ การลงมือปฏิบัติ ด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน ที่พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองและเป็นแหล่งการเรียนรู้นอกห้องเรียน

คำถามท้ายบทเรียน เรื่องคุณลักษณะของผู้จัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

แบบฝึกหัดท้ายบท


1. ผู้จัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ หมายถึงบุคคลใด
ตอบ บุคคลที่ทำหน้าที่คอยควบคุมดูแล แก้ปัญหาในระดับปฏิบัติการเพื่อการทำหน้าที่ในฝ่ายต่าง ๆ บรรลุเป้าหมายและสำเร็จลุล่วงตามที่กำหนดไว้

2. คุณลักษณะของผู้จัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้มีอะไรบ้าง
ตอบ 1. ผู้กำหนดทิศทาง (Direction-setter) ผู้จัดการศูนย์ฯ จะต้องมีความสามารถในการชี้ทิศทางในการนำนวัตกรรมทางเทคโนโลยีไปบูรณาการในการให้บริการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
 2. ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change agent) ผู้จัดการศูนย์จะต้องเป็นผู้ที่สามารถนำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาและสร้างการยอมรับนวัตกรรมทางเทคโนโลยีไปใช้ในระบบการเรียนการสอน สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต อย่างจริงจังสามารถลดการต่อต้านต่อการยอมรับสิ่งใหม่ ๆ ที่จะเข้าไปมีบทบาทในการสร้างสภาพแวดล้อมใหม่ในระบบการเรียนการสอน
3. โฆษก (Spokesperson) ผู้จัดการศูนย์ฯ ต้องมีความสามารถเผยแพร่วิสัยทัศน์ของตนสามารถเจรจาหรือต่อรองกับผู้บริหารระดับต่างๆ หรือต่อองค์กรภายนอกเพื่อสร้างเครือข่ายในการทำงานเพื่อประโยชน์ในการพัฒนางานศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ให้ก้าวหน้าต่อไป
 4. ผู้ฝึกสอน (Coach)ผู้จัดการศูนย์ ฯ ต้องมีความสามารถในการสร้างทีมงานขึ้นมาเพื่อนำวิสัยทัศน์ของตนไปสู่การปฏิบัติต้องรู้จักสอนให้คำปรึกษาให้คำแนะนำสร้างความไว้วางใจให้อำนาจแก่ผู้ที่จะร่วมงาน
5. วิทยากร (Trainer) ผู้จัดการศูนย์ ฯ ต้องท-หน้าที่ถ่ายทอดความรู้ไปยังทีมงาน โดยมุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรม ทั้งความรู้เจตคติ และทักษะในการพัฒนาศูนย์ฯ ให้บรรลุเป้าหมายของศูนย์
ทรัพยากรการเรียนรู้นั้น ๆ

 3. หลักการของผู้นำในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ มีอะไรบ้าง
ตอบ 1. ความรอบรู้แห่งตน (Personal mastery) ผู้จัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ จะต้องพัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ในความก้าวหน้าแห่งศาสตร์อยู่เสมอเช่นเดียวกับต้องพัฒนาวิสัยทัศน์ในการสร้างสรรค์วิชาชีพของตนเอง
 2. แบบแผนการคิดอ่าน(Mental models) ผู้จัดการศูนย์ฯ จะต้องมีทักษะการคิดอย่างใคร่ครวญ(Reflection) เพื่อเป็นการตรวจว่าความคิดใดความเชื่อใดมีผลดีผลเสียต่อการปฏิบัติงานในวิชาชีพซึ่งจะนำไปสู่การตัดสินใจเลือกในสิ่งที่ดีที่สุด
3. วิสัยทัศน์ร่วม (Shared vision) ผู้จัดการศูนย์ฯ ต้องรู้จักการสานวิสัยทัศน์กับบุคคลอื่นๆ ในองค์กรเพื่อที่จะหาจุดร่วมที่ดีที่สุดและเป็นสร้างความเท่าทันในทิศทางที่จะก้าวไปข้างหน้า
 4. การเรียนรู้เป็นทีม (Team learning)ผู้จัดการศูนย์ฯ ต้องรู้จักการสร้างการเรียนรู้เป็นทีมที่สมาชิกในทีมต้องมีความสามารถในการคิดตีปัญหาหรือประเด็นในกระจ่างอีกทั้งภายในทีมต้องรู้จักประสานกันอย่างดีคิดในสิ่งใหม่และแตกต่างไว้วางใจซึ่งกันและกันสมาชิกทุกคนต้องมีการสร้างระบบการเรียนรู้แบบต่อเนื่องสิ่งเหล่านี้ย่อมนำไปสู่การสร้างสรรค์งานด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. การคิดอย่างเป็นระบบ(System thinking) ผู้จัดการศูนย์จะต้องมีวิธีการคิดที่เห็นภาพระบบการศึกษา ระบบการเรียนการสอนรวม ระบบการให้บริการสื่อไปถึงระบบสังคมโดยรวมเห็นทั้งหมดมีกรอบที่เห็นความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกันมากกว่าที่จะเห็นในเชิงเหตุเชิงผลเห็นแนวโน้มมากว่าที่จะเห็นแค่ฉาบฉวย
เพื่อที่จะสามารถนำมาวางแผนเทคโนโลยีให้แก่ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ



คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ ประเภท และหลักการจัดหาทรัพยากรการเรียนรู้

แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน

1. ข่าวของมหาวิทยาลัยบูรพาในหน้าหนังสือพิมพ์จัดอยู่ในประเภทของทรัพยากรการเรียนรู้ใด และมีชื่อเรียกว่าอะไร
ตอบ   ประเภทสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง มีชื่อเรียกว่า หนังสือพิมพ์รายวัน คือ สิ่งพิมพ์ที่กำหนดออกเป็นประจำทุกวัน เพื่อนำเสนอข่าว และเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวใหม่ ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เช่น ข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจและสังคม ข่าวการศึกษา ข่าวกีฬา ข่าวธุรกิจ ข่าวบันเทิง บทความทางวิชาการและ สาระน่ารู้ เป็นต้น


2. ถ้าต้องการคัดเลือกสื่อวิดีทัศน์มาให้บริการนิสิตจะมีหลักการอย่างไรในการคัดเลือกสื่อดังกล่าว
ตอบ   1. ต้องสัมพันธ์กับหลักสูตรการเรียนการสอนในสถานศึกษานั้น ๆ
2. เนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ นำเสนอเนื้อหาได้ดีเป็นลำดับขั้นตอน
3. เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้ และประสบการณ์
4. สื่อทรัพยากรการเรียนรู้ที่ไม่ตีพิมพ์ สะดวกในการใช้ ไม่ซับซ้อนยุ่งยากจนเกินไป
5. สื่อทรัพยากรการเรียนรู้ที่ไม่ตีพิมพ์ มีคุณภาพ มีเทคนิคการผลิตที่ดี มีความชัดเจนและเป็นจริง
6. สื่อทรัพยากรการเรียนรู้ที่ไม่ตีพิมพ์ ราคาไม่แพงเกินไป
7. สื่อทรัพยากรการเรียนรู้ที่ไม่ตีพิมพ์ ถ้าจะผลิตเองควรคุ้มกับเวลาและการลงทุน
3. การจัดซื้อทรัพยากรการเรียนรู้มีกี่วิธีการ อะไรบ้าง
ตอบ 1.จัดซื้อ ตามความต้องการของหน่วยงานเป้าหมายที่จะมาใช้บริการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ ได้แก่
1.1 สั่งซื้อโดยตรง : ในประเทศ / ต่างประเทศ
1.2 สั่งซื้อผ่านร้าน/ตัวแทนจ าหน่าย : ในประเทศ / ต่างประเทศ
1.3 เว็บไซต์ : ในประเทศ / ต่างประเทศ
1.4 จัดซื้อในรูปภาคีร่วมกับศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ
2. รับบริจาค : องค์กร/หน่วยงานที่ต้องการเผยแพร่ข้อมูล บุคคล
3. ผลิตเอง : วิดีทัศน์ ภาพถ่าย บันทึกการประชุม/สัมมนา สแกนภาพ
4. แลกเปลี่ยน : ในการให้บริการระหว่างศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ในเครือข่าย

กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 9 การเขียนรายงานการดำเนินงาน Reporting

แบบฝึกหัดท้ายบทเรียหน่วยการเรียนรู้ที่ 9


การรายงานผลมีความสำคัญอย่างไร ต่อการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

การรายงานผลนั้นเปรียบเสมือนการแสดงข้อมูลอย่างเป็นระบบให้กับผู้บังคับบัญชา หรือสาธารณชนได้รับทราบผลการดำเนินงาน และเป็นการนำเสนอเพื่อปรับปรุงในการดำเนินงานครั้งต่อ ๆ ไป ตัวอย่างเช่น รายงานผลการดำเนินงานการจัดซื้อวัสดุต่างๆ ในหน่วยงาน เราจะทำจัดรายงานผลการดำเนินงานเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาทราบถึงรายละเอียดต่างๆ เช่น รายละเอียดการจัดซื้อวัสดุ รายละเอียดการประมูล เพื่อทำให้ทราบถึงที่มาของรายละเอียดที่จะจัดซื้อและงบประมาณที่จะใช้ เป็นต้น

กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 8 การประสานงาน CO-ORDINATION

แบบฝึกหัดหน่วยการเรียนรู้ที่ 8


1. สิ่งสำคัญเบื้องต้นของการประสานงานมีอะไรบ้าง
ตอ 1) การจัดวางหน่วยงานที่ง่ายและเหมาะสม (Simplified Organization) ในการจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้การจัดวางหน่วยงานควรคำนึงถึง
- การแบ่งแผนกซึ่งช่วยในการประสานงาน กล่าวคือ การจัดแผนกต่าง ๆ บางแผนกมีความจาเป็นต้องประสานกันควรอยู่ใกล้ชิดกันเนื่องจากการติดต่ออย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้ที่ทางานอันเกี่ยวเนื่องอย่างใกล้ชิดกันมากขึ้น
- การแบ่งตามหน้าที่
- การจัดวางรูปงานและระเบียบการที่ชัดแจ้งแก่ทุก ๆ คนที่เกี่ยวข้อง
2) การมีโครงการและนโยบายอันสอดคล้องกัน (Harmonized Program and Policies)
3) การมีวิธีติดต่องานภายในองค์การที่ทำไว้ดี (Well –Designed Methods of Communication) เครื่องมือที่ช่วยในการติดต่อส่งข่าวคราวละเอียด ได้แก่
- แบบฟอร์มในการปฏิบัติงาน (Working Papers)
- รายงานเป็นหนังสือ (Written report)
- เครื่องมือวิทยาศาสตร์ในการติดต่องาน เช่น ระบบการติดต่อภายในโรงพิมพ์ เป็นต้น
4) มีเหตุที่ช่วยให้มีการประสานงานโดยสมัครใจ (Aids to Voluntary Coordination)การประสานงานส่วนมากมักจะเกิดขึ้นจากการร่วมมือโดยสมัครใจของบุคลากรในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
5) การประสานงานโดยวิธีควบคุม (Coordination through Supervision) หัวหน้างานมีหน้าที่จะต้องคอยเฝ้าดูการดาเนินปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้การดาเนินงานเป็นไปอย่างสอดคล้องและจะต้องใช้วิธีประเมินผลการปฏิบัติงานทุกระยะจะได้ทราบข้อบกพร่องหาทางแก้ไขให้การปฏิบัติงานถูกต้องยิ่งขึ้น

2. เทคนิคการประสานงาน (Techniques Coordination) มีอะไรบ้าง
ตอบ  1) จัดให้มีระบบการติดต่อสื่อสารทั้งภายในหน่วยงานและภายนอกหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ
2) การกำหนดอำนาจหน้าที่และตำแหน่งงานอย่างชัดเจน
3) การสั่งการและการมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
4) การใช้คณะกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ที่ทาหน้าที่ประสานงานโดยเฉพาะการประสานงานภายในองค์การ
5) การจัดให้มีการประสานงานระหว่างพนักงานในองค์การ
6) การจัดให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา
7) การติดตามผล

3. จงอธิบายอุปสรรคของการประสานงาน มาพอเข้าใจ
ตอบ  1) การขาดความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้วยกันจะกลายเป็นสาเหตุทาให้การติดต่อประสานงานที่ควรดาเนินไปด้วยดี ไม่สามารถกระทำได้
2) การขาดผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริหารที่มีความสามารถ
3) การปฏิบัติงานไม่มีแผน ซึ่งเป็นการยากที่จะให้บุคคลอื่น ๆ ทราบ วัตถุประสงค์และวิธีการในการทางาน
4) การก้าวก่ายหน้าที่การงาน
5) การขาดการติดต่อสื่อสารที่ดีย่อมทาให้การทำงานเป็นระบบที่ดีของความร่วมมือขาดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
6) การขาดการนิเทศงานที่ดี
7) ความแตกต่างกันในสภาพและสิ่งแวดล้อม
8) การดำเนินนโยบายต่างกันเป็นอุปสรรคต่อการประสานงาน
9) ประสิทธิภาพของหน่วยงานต่างกันจะเป็นการยากที่จะก่อให้เกิดมีความร่วมมือและประสานงานกันเพราะแสดงว่ามีฝีมือคนละชั้น
10) การทำหน้าที่ความรับผิดชอบและอำนาจไม่ชัดแจ้งทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความกังวลใจและอาจไปก้าวก่ายงานของบุคคลอื่นก็ได้
11) ระยะทางติดต่อห่างไกลกัน
12) เทคนิคและวิธีการปฏิบัติงานในแต่ละหน่วยงานแตกต่างกัน เนื่องมาจากการกุมอำนาจหรือการกระจายอำนาจมากเกินไป

กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การบริหารงานบุคคลประจำศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้

แบบฝึกหัดหน่วยการเรียนรู้ที่ 5 

การจัดการศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
1. อธิบายภารกิจหรือกิจกรรมที่สำคัญๆ ของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้มีอะไรบ้าง
ตอบ  1. การจัดหาสื่อประเภทต่างๆ ไว้สำหรับบริการ
2. การผลิตสื่อเพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอน
3.การจัดระบบ จัดเก็บ แยกหมวดหมู่และจัดทำทะเบียน
4.การบริการให้ยืม- คืน วัสดุ เครื่องมือสื่อสาร เครื่องมืออุปกรณ์
5.การให้คำปรึกษา แนะนำการใช้และการผลิตสื่อ
6. การวิจัยและการพัฒนาสื่อ
2. ถ้าหากพิจารณาบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ จะประกอบด้วยบุคคลด้านใดบ้าง
ตอบ  1 ด้านบริหาร โดยต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมายและภารกิจต่างๆ ให้ครอบคลุมงานหรือสิ่งที่ต้องทำการจัดดาเนินงาน การจัดบุคลากร การนิเทศ การติดต่อประสานงาน การทำงบประมาณ การกำหนดมาตรฐานของงาน เพื่อให้หน่วยงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้
ด้านการบริการ เป็นภารกิจของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ที่นาโครงการต่างๆออกสู่ กลุ่มเป้าหมาย
ด้านการผลิตสื่อ ทำหน้าที่ในการออกแบบและผลิตสื่อการเรียนการสอน
ด้านวิชาการ ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ต้องมีบทบาทและหน้าที่ในการศึกษาค้นคว้า พัฒนาและเผยแพร่ผลงาน
ด้านการปรับปรุงการเรียนการสอน ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ต้องมีภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบต่อการศึกษาเป็นสำคัญในการจัดหาสื่อมาใช้ในการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและเนื้อหาแต่ละวิชา
ด้านกิจกรรมอื่นๆ

3. ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ จำแนกเป็นประเภทที่สำคัญได้กี่ประเภท
ตอบ  ผู้ปฏิบัติงานในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้สามารถแบ่งได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้        
1. บุคลากรทางวิชาชีพ (Professional Staff) ได้แก่ บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ทางด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาหรือโสตทัศนศึกษาระดับปริญญาซึ่งถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ (Media Specialists) หรือบางที่อาจเรียกว่านักวิชาการการโสตทัศนศึกษาก็ได้
2. บุคลากรกึ่งวิชาชีพ (Paraprofessional Staff) บุคลากรกึ่งวิชาชีพ คือ บุคคลที่ได้วุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพโดยมีหน้าที่ช่วยเหลือบุคลากรทางวิชาชีพเกี่ยวกับด้านเทคนิคหรือด้านบริการ
3. บุคลากรที่ไม่มีความรู้ทางวิชาชีพ (Non-professional Staff) บุคลากรประเภทนี้        ทำหน้าที่ทางด้านธุรกิจ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ

4. ท่านมีขั้นตอนในการจัดหาสื่อการเรียนการสอน มาใช้บริการในศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ  ขั้นตอนที่ 1 เป็นขั้นการสำรวจสภาพของสื่อในสถานศึกษาเพื่อสำรวจหาข้อเท็จจริงเบื้องต้นเป็นข้อมูลมาประกอบการจัดหา
ขั้นตอนที่ 2 การสำรวจสถานที่ เป็นขั้นตอนการสำรวจวางแผนจะให้สถานที่ส่วนใดบ้างในการทากิจกรรม เพื่อเป็นการตรวจสอบดูว่ามีสถานที่และสิ่งอานวยความสะดวกที่ต้องการมีเพียงพอแล้วหรือยังและจะต้องการจัดหาอะไรเพิ่มเติมบ้าง
ขั้นตอนที่ 3 การสำรวจความต้องการของผู้ใช้ เพื่อต้องการทราบถึงความต้องการใช้สื่อประเภทต่างๆ โดยนาข้อมูลที่ได้ไปดาเนินการจัดหาให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ดังนั้นก่อนการจัดหาหรือจัดซื้อสื่อมาไว้บริการ จาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสำรวจและศึกษาความต้องการของผู้ใช้ก่อนเสมอ
ขั้นตอนที่ 4 เป็นขั้นการจัดหา โดยนาข้อมูลที่ได้มาจากความต้องการแล้วทาเป็นโครงการสั้นๆ หรือโครงการระยะยาวเพื่อวางแผนในเรื่องงบประมาณในการจัดหาต่อไป
5. อธิบายวิธีการจัดซื้อจัดหาวัสดุครุภัณฑ์เพื่อมาใช้ในกิจกรรมและบริการ ท่านมีหลักเกณฑ์สำคัญ อะไรบ้าง
ตอบ  1. ความคงทน
2. ความสะดวกในการใช้งาน
3. ความกะทัดรัด
4. คุณภาพของเครื่อง
5. การออกแบบ
6. ความปลอดภัย
7. ความสะดวกในการบำรุงรักษาละซ่อมแซม
8. ราคา
9. ชื่อเสียงของบริษัทผู้ผลิต
10. การบริการซ่อมแซม